แนะนำหลักสูตร การผลิตกราฟิคดีไซน์ สำหรับงานสิ่งพิมพ์ด้วยโปรแกรม InDesign CS3

ข่าวเทคโนโลยี ThaiPR.net — อังคารที่ 24 มิถุนายน 2551 16:17:46 น.

กรุงเทพฯ–24 มิ.ย.–MacDD

หลักสูตรสำหรับผู้ต้องการสร้างสรรค์งานสิ่งพิมพ์ ทั้งนิตยสาร หนังสือพิมพ์ โปสเตอร์ โบชัวร์ การ์ดต่างๆ ด้วยวิธีการเรียนแบบเวิร์คชอป ทดลองทำงานจริงๆทุกขั้นตอน พร้อมทั้งเรียนรู้การใช้งาน InDesign CS3 ร่วมกับ Photoshop และ Illustrator CS3 เพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพสูงสุดสำหรับการออกแบบ

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

Graphic Design เปิดอบรมหลักสูตร Graphic Design by illustrator

กรุงเทพฯ–22 ก.ย.–

เปิดอบรมหลักสูตรกราฟิกดีไซน์ ผู้ที่ต้องการเรียนรู้งานกราฟิกดีไซน์อย่างมืออาชีพ เริ่มต้นเรียนรู้งานคอมพิวเตอร์กราฟิก ที่นำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานในเชิงธุรกิจ เช่น ป้ายประชาสัมพันธ์ โปสเตอร์ หลักสูตรนี้เน้นภาคปฏิบัติโดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนรู้งานออกแบบกราฟิก ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้ได้งานดีๆ และสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ในการทำงานได้

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

พบกับความสามารถใหม่ของ Adobe Illustrator CS5

กรุงเทพฯ–16 ก.ย.–พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง

อะโดบีแนะนำซอฟต์แวร์โปรแกรมใหม่ล่าสุดจากชุดผลิตภัณฑ์ CS5 (Adobe Creative Suite 5) Adobe Illustrator CS5 โปรแกรมวาดภาพกราฟิกแบบเวกเตอร์ โดยเวอร์ชั่นล่าสุดนี้มาพร้อมกับความสามารถที่หลากหลาย เช่นสามารถสร้าง perspectives และการสร้างงานออกแบบ interactive การทำงานร่วมกันระหว่างโปรแกรม Illustrator กับ Flash Catalyst และโปรแกรมอื่นๆ ของ Adobe รวมไปถึงการทำงานกับ Adobe CS Live online services ได้ง่ายๆ ทำงาน multiple outputs ได้รวดเร็วขึ้น

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

ค่ายนักคอมพิวเตอร์กราฟฟิกรุ่นเยาว์ Junior Computer Graphic Camp

 

กรุงเทพฯ–20 มี.ค.–ศูนย์พัฒนาทักษะและการเรียนรู้ ICT ภูเก็ต

” ค่ายนักคอมพิวเตอร์กราฟฟิกรุ่นเยาว์ Junior Computer Graphic Camp ” รุ่น 1 วันที่ 3-7 เมษายน 2555 เวลา 09.30 – 15.30 น. โดยใช้โปรแกรม Adobe Illustrator สำหรับน้อง ๆ อายุ 10 ปีขึ้นไป (รับจำนวนจำกัด) สนใจติดต่อสอบถามโทร 076-379009

ติดต่อ:

ศูนย์พัฒนาทักษและและการเรียนรู้ ICT ภูเก็ต โทร 076-379009 หรือ 0864753700

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

ราชภัฏธนบุรี.. ขอเชิญร่วมอบรมการออกแบบงาน Graphic Design และ illustrator cs3

กรุงเทพฯ–26 ก.พ.–มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี (มรธ.) ขอเชิญผู้ที่สนใจหรือผู้ประกอบการ เข้าร่วมโครงการอบรมการออกแบบงาน Graphic Design และเรียนรู้การใช้งาน illustrator cs3 ในวันเสาร์ที่ 2, 9 และ 16 มี.ค.56 (เวลา 9.00 — 13.00) สมัครด่วน.. รับจำกัด สอบถามโทร. 02-8901801 ต่อ 2051 / 02-8902296

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

กราฟิกกับชีวิตประจำวัน

ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในเรื่องต่าง ๆ เป็นอย่างมาก คอมพิวเตอร์ เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน ในสถาบันการศึกษามีการนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการเรียนการสอนในสถานศึกษา โปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิก ซึ่งเหมาะสมกับการใช้งานออกแบบ จึงควรจะต้องเรียนรู้และนำมาใช้ในการเขียนแบบออกแบบงานสถาปัตยกรรม และงานตกแต่งภายใน เทคนิคการออกแบบและการนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์จึงเป็นที่นิยม และเพิ่มปริมาณการใช้ขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ชนิดพกพา เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่นักออกแบบต้องมีความรู้ในเรื่องโปรแกรมสำเร็จรูปเกี่ยวกับงานออกแบบตกแต่งภายในและต้องมีทักษะในการใช้ออกแบบเพื่อนำไปออกแบบ และนำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานคอมพิวเตอร์กราฟิกเข้ามามีบทบาทอย่างมากในทางการตลาด สามารถนำเสนองานให้เห็นเหมือนกับของจริงที่ยังไม่ได้ดำเนินการ เป็นการชักจูงโน้มน้าวการตัดสินใจในการซื้อของลูกค้าเป็นอย่างดีทำให้ลูกค้าตัดสินใจได้รวดเร็ว

ระยะช่วงสมัยที่เรียกว่าเป็นยุคดิจิตัล (Digital) เครื่องมืออุปกรณ์อีเลกทรอนิกส์สมัยใหม่ คือ คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก คอมพิวเตอร์ที่นำเข้ามาในการเรียนการสอนวิชาศิลปะจะเป็นคอมพิวเตอร์กราฟิก ซึ่งเหมาะสมกับการใช้งานในการสร้างงานศิลปกรรม คอมพิวเตอร์กราฟิก หมายถึง การเขียนภาพ หรือสร้างภาพโดยใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก เป็นข้อมูลที่แสดงในรูปของ เส้นกราฟ แผนภาพ แผนภูมิ รูปภาพ ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบันเนื่องจากมีความสะดวกรวดเร็วในการนำเสนอ และแก้ไขงานได้ทันที บุคลากรทุกหน่วยงานไม่ว่าเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชน นิยมใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกในงานศิลปกรรมเป็นส่วนมาก ทำให้การพัฒนางานด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกเติบโตใช้ในธุรกิจโฆษณาและวงการภาพยนตร์อย่างแพร่หลาย ภาพเคลื่อนไหว(Animation) คอมพิวเตอร์กราฟิกเริ่มมีมาตั้งแต่ ค.ศ.1940 โดยรูปภาพที่ได้เกิดจากการนำเอาตัวอักษรมาประกอบกันเป็นรูปภาพ ต่อมา ปี ค.ศ. 1950 สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซานซูเซตส์ (MIT) ได้คิดพัฒนาหลอดภาพ CRT (Cathode Ray Tube) ขึ้นใช้เป็นส่วนแสดงผลแทนเครื่องพิมพ์ เนื่องจากต้องการให้มีความรวดเร็วมากขึ้น ในขณะที่กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาใช้ระบบ SAGE แปลงสัญญาณจากเรดาร์ให้เป็นภาพบนจอคอมพิวเตอร์ และเป็นครั้งแรกที่ใช้ปากกาแสง ต่อมาในปี ค.ศ.1963 อีวาน ซูเธอร์แลนด์ (Ivan Sutherland). ได้ทำปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต ใช้ปากกาแสงกำหนดจุดบนจอภาพแทนระบบการวาดเส้น และเชื่อมโยงจุดต่างๆกลายเป็นโครงสร้างภาพรูปหลายเหลี่ยมเป็นพื้นฐานการออกแบบระบบงาน การออกแบบระบบไฟฟ้า และการออกแบบเครื่องจักร

ในปี ค.ศ. 1968 บริษัทเทคโทรนิกซ์ (Tectronix) ได้ผลิตจอภาพแบบใหม่ขึ้น และมีราคาถูกลงกว่าเดิมมาก จากราคาเดิมราคาเครื่องละ 100,000 ดอลลาร์ ในขณะที่เครื่องแบบใหม่ราคา15,000 ดอลลาร์ ในปีค.ศ.1970 คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มีราคาถูกลงมาก ทำให้คอมพิวเตอร์กราฟิกแพร่หลายอย่างรวดเร็ว ซอฟต์แวร์ทางด้านกราฟิกมีการพัฒนาควบคู่มากับฮาร์ดแวร์อย่างต่อเนื่อง ควบคู่กันมาจากการเริ่มต้นปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิตของ อีวาน ซูเธอร์แลนด์(Ivan Sutherland) มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ควบคู่กับฮาร์ดแวร์มาอย่างต่อเนื่อง สตีเฟน คูนส์ (Steven Coons) และ ปิแอร์ เบเซอร์ (Pieere Bazier) ได้พัฒนาซอฟต์แวร์สร้างการเขียนเส้นโค้ง และพื้นผิวภาพ ทำให้สามารถสร้างภาพ 3 มิติได้สมจริง ในปัจจุบันได้พัฒนาการเขียนรูปได้เหมือนจริงมากขึ้นและทำให้ภาพเคลื่อนไหวเหมือนจริง ซึ่งนำไปใช้ประโยชน์ได้มาก เช่น ในด้านการค้า การอุตสาหกรรม การศึกษา การฝึกอบรม การจำลองสถานการณ์ การนำเสนอภาพทัศนียภาพในการออกแบบงานสถาปัตยกรรม หรืองานออกแบบตกแต่งภายใน โปรแกรมพื้นฐานที่นักออกแบบทุกคนจะต้องเรียนรู้ในการสร้างงานกราฟิกมี 2 ชนิด คือ โปรแกรมประเภทวาดภาพ

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

นินเทนโดย้ำ อุตฯเกมต้องริเริ่มนวัตกรรมใหม่มากกว่าอัดกราฟิก

ประธานนินเทนโด ออกมาพูดย้ำว่าอุตสาหกรรมเกมควรที่จะคิดริเริ่มนวัตกรรมประสบการณ์การเล่นเกมใหม่ๆให้กับผู้เล่น มากกว่าการเพิ่มศักยภาพความแรงของเครื่องเกม หรือจัดหนักกราฟิกขั้นเทพเพียงอย่างเดียว

“ซาโตรุ อิวาตะ” ประธานนินเทนโดกล่าวต่อผู้ถือหุ้นในงานแถลงผลประกอบการ ระบุว่าหากอุตสาหกรรมเกมต้องการมีอนาคตและประสบความสำเร็จจะต้องสร้างนวัตกรรมประสบการณ์การเล่นเกมใหม่ๆให้กับผู้เล่น ซึ่งจุดนี้จะสามารถดึงดูดเหล่าเกมเมอร์ได้จากความประหลาดใจที่เกมเมอร์ได้สัมผัสเมื่อเล่นเกม

อิวาตะย้ำว่าอนาคตของเกมไม่ใช่การเพิ่มศักยภาพความแรงของเครื่อง หรือการเพิ่มกราฟิกให้ภาพดูสวยงามสมจริง แต่เป็นการสร้างประสบการณ์เล่นเกมที่แปลกใหม่ให้กับผู้เล่น

“เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้สามารถทำอะไรได้หลายอย่างบนอุปกรณ์ตัวเดียว และเครื่องคอนโซลก็มีศักยภาพพลังที่แรงสูงขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามหากเรายังคงเดินตามในแนวทางนี้ การพัฒนาเกมจะมีความยุ่งยากสลับซับซ้อนและในที่สุดจะต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่การทำเกมให้คืนทุนนั้นเป็นเรื่องซีเรียส”

อิวาตะ แนะนำว่าอุตสาหกรรมเกมไม่ควรไปโฟกัสให้ความสำคัญไปที่การเพิ่มความแรงของเครื่องเกม และกราฟิกอย่างเดียว แต่ควรจะริเริ่มทำสิ่งใหม่ๆขึ้นมาบ้าง

“เรารู้สึกว่าอุตสาหกรรมเกมใกล้ที่จะถึงจุดอิ่มตัวในด้านความแรงของเครื่องและด้านการพัฒนากราฟิก ในอนาคตสิ่งสำคัญที่เกมควรจะมีคือการริเริ่มสร้างสิ่งใหม่ที่ผู้เล่นไม่คาดคิดว่าจะได้เห็นมันในรูปแบบเกม”

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น